Last updated: 19 พ.ค. 2565 | 5195 จำนวนผู้เข้าชม |
อุปกรณ์คู่ครัวต่างๆ อาทิ เตาแก๊ส, เตาไฟฟ้า, ตู้เย็น, เตาอบ ฯลฯ มักจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่ครัวกับเราไปแบบยาวๆ แต่เพื่อนๆ ทราบกันหรือไม่ครับ ปัจจัยที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้การใช้งานยาวนาน ไม่มีเรื่องการชำรุดเสียหายให้หนักใจ ก็คือ การดูแลเอาใจใส่ที่ดี ปัญหาก็คือไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจเข้าถึง และแต่ละอุปกรณ์อาจมีรายละเอียดของการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ Lucky Flame จะมาจุดประกายเรื่องดังกล่าวให้ได้ทราบกันครับ
1) วิธีถนอมการใช้งานเตาแก๊ส
สิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้เตาแก๊สอยู่คู่ครัวไปนานๆ คือ การทำความสะอาดเตาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยๆ ก็ควรเช็ดคราบอาหารด้วยน้ำเปล่าสะอาดในตอนเสร็จสิ้นการใช้งาน และควรเช็ดล้างด้วยน้ำยาเช็ดล้างทำความสะอาด (ที่ใช้สำหรับทำความสะอาดเตาแก๊ส ซึ่งไม่ควรใช้น้ำยาที่เป็นกรดสูง) ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อลดคราบที่เกาะฝังแน่นในเตา รวมถึงคราบน้ำมันต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันการผุกร่อนด้วย
นอกจากเรื่องการทำความสะอาดเตาแล้ว การหมั่นสังเกตเปลวไฟว่ามีความสม่ำเสมอและออกมาทุกช่องหัวเตาสีน้ำเงินนิ่งๆ ไม่สีแดง และทำความสะอาดแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวเตาแก๊สได้ และไม่ทำให้ก้นหม้อเป็นเขม่าสีดำ
สาเหตุ และ วิธีแก้ปัญหา ไฟแดง ไฟลอย มีเขม่า ก้นหม้อดำ
2) วิธีถนอมการใช้งานเตาไฟฟ้า
การทำความสะอาดเตาไฟฟ้า ทั้งในส่วนของกระจก แผง และโครงเตา เป็นประจำจะช่วยถนอมการใช้งานของเตาไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี โดยวิธีการทำความสะอาดนั้น ทำได้ไม่ยาก เพียงใช้ผ้าชุบน้ำทำความสะอาดคราบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น และหากเป็นคราบมัน ก็ให้ใช้ผ้าชุมผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานขจัดคราบดังกล่าวแทน ขณะที่ในส่วนของพัดลมระบายอากาศและช่องระบายอากาศนั้น ให้ใช้แปรงหรือก้านสำลีในการทำความสะอาด
ทั้งนี้ ควรถอดปลั๊กเมื่อไม่มีการใช้งานเตาไฟฟ้าทุกครั้ง และต้องมีการตรวจสอบปลั๊กเสมอว่า ตอนมีการใช้งานเตาไฟฟ้า ปลั๊กถูกเสียบแน่นดีแล้วหรือไม่ อีกทั้งควรระมัดระวังไม่ทำน้ำหกใส่ เพราะอาจเป็นสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรเอาได้ นอกจากนี้ ระหว่างที่ใช้งานเตาไฟฟ้าอยู่ ก็ไม่ควรเสียบหรือถอดปลั๊ก ทั้งในส่วนของขั้วต่อและส่วนของเต้าเสียบอีกด้วย
เมื่อใช้งานเสร็จควรปล่อยให้พัดลมหมุน ให้เตาเย็นตัวลงสักครู่ แล้วจากนั้นจึงค่อยถอดปลั๊กออก จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแผงวงจรได้อีกส่วนหนึ่ง
เตาแม่เหล็กไฟฟ้ารุ่น TS-T202P ประหยัดไฟเบอร์ 5 สามดาวรายแรกและรายเดียวในไทย ค่าไฟสูงสุดแค่ชั่วโมงละ 5 บาทเท่านั้น
3) วิธีถนอมการใช้งานเตาไมโครเวฟ
การถนอมการใช้งานของเตาไมโครเวฟนั้น อันดับแรกเลย คือ ต้องหมั่นทำความสะอาดคราบอาหารหรือคราบน้ำมัน ที่ติดอยู่ตามผนังภายในอยู่เสมอ โดยใช้น้ำผสมน้ำส้มสายชูเข้าไปจัดการกับคราบ ส่วนภายนอกของเตาก็ควรมีการใช้น้ำสบู่เช็ดทำความสะอาด และใช้ผ้าแห้งสนิทเช็ดซ้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลซึมเข้าไปในช่องอากาศ และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ระหว่างการทำความสะอาดต้องไม่ลืมถอดปลั๊กออก เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าและคลื่นไมโครเวฟ นอกจากนี้ ที่ตั้งของไมโครเวฟก็ควรวางเอาไว้ในที่อากาศถ่ายเท ไม่ควรวางเอาไว้ติดฝาผนังบ้าน และห้ามเปิดไมโครเปล่าๆ ทิ้งไว้ด้วย
รู้หรือไม่ ? วางอาหารริมจานไมโครเวฟ ช่วยกระจายความร้อนได้ดีกว่า
4) วิธีถนอมการใช้งานตู้เย็น
ตู้เย็นเป็นเครื่องครัวที่มีอยู่ในทุกบ้าน และโดยทั่วไปก็มักจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพราะมีความคงทนสูง การดูแลตูเย็นให้สามารถใช้งานได้เต็มที่ตลอดเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยไม่ควรใส่สิ่งของต่างๆ เข้าไปในตู้เย็นมากจนเกินไป นอกจากนี้การนำของที่มีอุณหภูมิสูงเข้าไปแช่บ่อยๆ ก็มีส่วนทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นด้วย
หลายคนตกม้าตายในเรื่องของการจัดวางตำแหน่งตู้เย็นในบ้านก็มีผลต่อการยืดอายุการใช้งานของตู้เย็นเช่นเดียวกัน โดยตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะวางตู้เย็นนั้น ควรอยู่ห่างจากผนังอย่างน้อยๆ 15 เซ็นติเมตร เพื่อระบายความร้อน ขณะเดียวกัน ก็ควรหลีกเลี่ยงการวางตู้ใหญ่ไว้ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เช่น เตาอบ หรือเตาแก๊ส เนื่องจากความร้อนจากอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นนั่นเอง
5) วิธีถนอมการใช้งานเครื่องดูดควัน
การถนอมการใช้งานเครื่องดูดควันจะไม่แตกต่างกับอุปกรณ์ในครัวอื่นๆ เท่าไหร่นัก กล่าวคือ ต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ทั้งในส่วนของพื้นผิวด้านนอก แผ่นกรองน้ำมัน รวมถึงแผ่นกรองคาร์บอนด้วย
- พื้นผิวด้านนอก ควรใช้เบคกิ้งโซดาในการกำจัดคราบฝังแน่น โดยให้แยกส่วนส่วนประกอบของเครื่องออกมาทำความสะอาด ใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นผสมเบคกิ้งโซดาและน้ำสบู่เช็ดคราบมันและสิ่งสกปรกออกให้หมด ก่อนที่จะนำกลับไปประกอบกลับคืนให้เหมือนเดิม
- แผ่นกรองน้ำมัน ให้ถอดแผ่นกรองออกมา แล้วนำไปแช่น้ำร้อนผสมเบคกิ้งโซดาที่ผสมน้ำสบู่เล็กน้อย ทิ้งเอาไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้น จึงใช้แปรงขัดคราบที่ติดเเผ่นกรองออก
- แผ่นกรองคาร์บอน เนื่องจากคุณสมบัติของมัน คือ การช่วยดูดควันและช่วยดูดซับกลิ่นเหม็น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นกรองคาร์บอนอย่างน้อยปีละครั้งด้วย
การใช้งานเครื่องดูดควันให้อยู่คู่ครัวไปนานๆ ยังมีข้อที่ควรปฏิบัติที่ควรทำอื่นๆ อีก อาทิ ห้ามทดลองหรือเปิดเตาแก๊ส แล้วเปิดเครื่องดูดควันไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีภาชนะคั่นกลางระหว่างเปลวไฟและเครื่องดูดควันโดยเด็ดขาด ไม่ควรนำเครื่องดูดควันไปดัดแปลงหรือนำไปใช้นอกที่พักอาศัย เช่น การย่างอาหารกลางแจ้ง
6) วิธีถนอมการใช้งานเตาอบไฟฟ้า
การจะทำให้เตาอบไฟฟ้าอยู่คู่ครัวกับเราไปนานๆ จำเป็นต้องไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการดูแลรักษาและควรมีการทำความสะอาดอยู่เสมอ โดยวิธีทำความสะอาดเตาอบไฟฟ้ามีด้วยกันหลักๆ 3 วิธี คือ
1. ให้ตั้งอุณหภูมิของเตาอบเอาไว้ที่ 180 – 200 องศาเซลเซียส แล้วปล่อยให้เตาอบทำงานประมาณ 3 นาที จึงปิดเครื่อง จากนั้น ให้นำภาชนะที่ทนความร้อนใบเล็กๆ ใส่แอมโมเนีย วางเข้าไปในเตาอบ ให้อยู่เหนือหม้อน้ำเดือด ปิดฝาเตาอบเอาไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำผ้ามาเช็ดคราบสกปรกออก
2. ใช้เบคกิ้งโซดาผสมน้ำใส่ขวดสเปรย์ แล้วฉีดให้ทั่วเตาอบ พร้อมปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้น ใช้แปรงขัดคราบสกปรกออก ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดให้สะอาดและปล่อยให้แห้ง ก่อนที่จะนำมะนาวฝานใส่เข้าไป แล้วเปิดไฟอ่อนๆ 1-2 นาที แล้วนำมะนาวออก
3. ใช้น้ำยาทำความสะอาดเตาอบฉีดพ่นให้ทั่ว แล้วใช้ผ้าเปียดเช็ดคราบออก จากนั้นจึงใช้ผ้าแห้งเช็ดตามอีกครั้งให้เรียบร้อย
สำหรับการดูแลรักษาเตาอบนั้น สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมเลย คือ ต้องดึงปลั๊กออกทุกครั้งหลังใช้งาน และควรเปิดฝาเตาอบ เพื่อระบายความร้อนเอาไว้ นอกจากนี้ อย่าลืมเช็ดกระจกหน้าเตาอบทุกครั้ง เพื่อให้มองเห็นอาหารในเตาได้อย่างชัดเจนด้วย
7) หม้อทอดไร้น้ำมัน
หม้อทอดไร้น้ำมันจัดเป็นอุปกรณ์ทำอาหารที่กำลังฮอทฮิตอยู่ในช่วงเวลานี้เลยก็ว่าได้ โดยหลายคนมีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวสร้างสรรค์เมนูต่างๆ ขึ้นมามากมาย โดยการดูแลรักษาและทำความสะอาดจะค่อนข้างยากนิดหน่อย เนื่องจากอาหารที่ทอดด้วยหม้อทอดมักจะมันและติดตะแกรง เราทำเป็นวิดีโอสาธิตวิธีทำที่ง่ายๆ มาให้ดูกันแล้วครับ
8) หม้อหุงข้าว
หม้อหุงข้าวดิจิตอล ขนาด 1 ลิตร ระบบอัตโนมัติ 6 ฟังก์ชั่น มี 2 สีดีไซน์เก๋ เอาใจวัยรุ่น
หม้อหุงข้าวถือเป็นเครื่องครัวสามัญประจำบ้าน ที่ไม่ว่าบ้านไหนก็จะมีติดบ้านเอาไว้ การดูแลรักษาหม้อหุงข้าว เพื่อให้อยู่คู่ครัวไปนานๆ แทนการซื้อใหม่ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพียงเริ่มต้นจากการถอดปลั๊กหลังใช้งานทุกครั้ง พร้อมเปิดฝาหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพื่อให้ความร้อนข้างในได้ระบายออกมาและเย็นลง
จากนั้น จึงเริ่มทำความสะอาดด้านในของหม้อหุงข้าว โดยนำน้ำส้มสายชูแบบเจือจางราดเทลงไปให้ทั่ว เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยทำความสะอาดได้ แล้วจึงใช้ผ้าเช็ดด้านในหม้อ เพื่อป้องกันการเกิดคราบ
ส่วนด้านนอกของหม้อหุงข้าวนั้น สิ่งสำคัญคือ อย่าให้โดนน้ำ แนะนำให้ใช้เบคกิ้งโซดาเข้มข้น และใช้แปรงสีฟันแตะน้ำเบคกิ้งโซดามาขัดด้านนอกของหม้อหุงข้าว แล้วใช้ผ้าเช็ดคราบออก จากนั้น จึงใช้ฟองน้ำเปียกหมาดๆ เช็ดเป็นขั้นตอนสุดท้าย
“ลัคกี้เฟลม จุดประกายความสุขทุกครัวเรือน”
16 ธ.ค. 2565